ภาษาอาหรับซิรวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับซิรวาน
ประเทศที่มีการพูดอาเซอร์ไบจาน, ดาเกสตาน (รัสเซีย)
ภูมิภาคเทือกเขาคอเคซัส
สูญแล้วประมาณพุทธศตวรรษที่ 24
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษาอาหรับซิรวาน (Shirvani Arabic) เป็นสำเนียงของภาษาอาหรับที่เคยใช้พูดในบริเวณที่เป็นตอนกลางและตะวันตกเฉียงเหนือของอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน (ในสมัยก่อนเรียกซิรวาน) และดาเกสตาน (ทางภาคใต้ของรัสเซีย) ภาษาอาหรับที่ใช้พูดในบริเวณนี้เป็นผลมาจากการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามมาจากเทือกเขาคอเคซัสใต้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งทำให้มีชาวอาหรับเข้ามาตั้งหลักแหล่งทั้งเป็นกองทหาร พ่อค้าจากซีเรีย และแบกแดดซึ่งใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ต่อมาบทบาทของภาษาอาหรับได้ลดลงเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 หลังจากกาหลิบเลื่อมอำนาจลง และถูกแทนที่ด้วยภาษาเปอร์เซีย ภาษาตัต และภาษาอาเซอรี กลุ่มของชาวอาหรับ (ส่วนใหญ่มาจากเยเมน) อพยพต่อไปเข้าสู่ทางใต้ของดาเกสตาน [1]หลักฐานสุดท้ายที่บ่งบอกถึงการเหลืออยู่ของภาษาอาหรับซิรวาน อยู่ในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวอาเซอรี Abbasgulu Bakikhanov ที่กล่าวว่าชาวอาหรับซิรวานพูดภาษาอาหรับที่เป็นสำเนียงต่างออกไป [2] เมื่อ พ.ศ. 2383 ภาษาอาหรับยังคงใช้พูดในดาเกสตาน จนถึง พ.ศ. 2463 ในฐานะภาษาที่สองหรือสามในกลุ่มขุนนางโดยใช้ในวรรณคดี ภาษาเขียน และการเมือง [3]

อ้างอิง[แก้]