โรคติดเชื้อบรูเซลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคติดเชื้อบรูเซลลา
ชื่ออื่นไข้แบบเป็นระลอก, ไข้เมดิเตอร์เรเนียน, ไข้ไซปรัส, ไข้มอลตา, ไข้หิน (Micrococcus melitensis)[1]
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ

โรคติดเชื้อบรูเซลลา (อังกฤษ: Brucellosis)[2][3] เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์ที่เกิดจากการทานนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกซึ่งได้จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือจากการสัมผัสใกล้ชิดกับสารคัดหลั่ง[4] ชื่ออื่น ๆ ของโรคได้แก่ไข้แบบเป็นระยะ (undulant fever), ไข้มอลตา (Malta fever) และ ไข้เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean fever)[5]

สปีชีส์ Brucella เป็นแบคทีเรียกรัมลบ, ไม่เคลื่อนที่, ไม่สร้างสปอร์ รูปร่างแท่ง (ค็อกโคบาซิลไล) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกลายเป็นปรสิตในเซลล์ชนิดแฟกคับเททีฟก่อให้เกิดโรคเรื้อรังซึ่งอาจดำเนินไปตลอดชีวิต แบคทีเรียสปีชีส์ที่ก่อโรคในมนุษย์ได้แก่ B. abortus, B. canis, B. melitensis และ B. suis โดย B. abortus แพร่กระจายยากกว่า B. melitensis และมักปรากฏติดเชื้อในวัวหรือสัตว์, B. canis ติดเชื้อในสุนัข และ B. melitensis เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายง่ายที่สุดและมักติดเชื้อในแพะและแกะในบางครั้ง B. suis มีควาามสมารถแพร่กระจายกลาง ๆ และมักติดเชื้อในหมู อาการของโรคในมุนษย์ปนะกอบดเวยเหงื่ออกมากเกิน, อาการเจ็บปวดในข้อและกล้ามเนื้อ

สปีชีส์ Brucella เคนถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในหลายประเทศพัฒนาแล้วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ในปี 1954 B. suis เป็นอาวุธชีวภาพตัวแรกของสหรัฐอเมริกาที่เก็บไว้ในคลังแสงไพน์บลัฟ ใกล้กับเมืองไพน์บลัฟ รัฐอาร์คันซอ สปีชีส์ Brucella เช่นเดียวกับอาวุธชีวภาพอื่น ๆ ต่อมาถูกทำลายทิ้งในปี 1971–72 ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wyatt HV (2014). "How did Sir David Bruce forget Zammit and his goats ?" (PDF). Journal of Maltese History. Malta: Department of History, University of Malta. 4 (1): 41. ISSN 2077-4338. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-21. Journal archive
  2. "Brucellosis". American Heritage Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06.
  3. "Maltese Fever". wrongdiagnosis.com. February 25, 2009.
  4. "Diagnosis and Management of Acute Brucellosis in Primary Care" (PDF). Brucella Subgroup of the Northern Ireland Regional Zoonoses Group. August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-13.
  5. Di Pierdomenico A, Borgia SM, Richardson D, Baqi M (July 2011). "Brucellosis in a returned traveller". CMAJ. 183 (10): E690-2. doi:10.1503/cmaj.091752. PMC 3134761. PMID 21398234.
  6. Woods, Jon B. (April 2005). USAMRIID's Medical Management of Biological Casualties Handbook (PDF) (6th ed.). Fort Detrick, Maryland: U.S. Army Medical Institute of Infectious Diseases. p. 53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก